วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สงครามโลกครั้งที่ 2


เป็นความขัดแย้งระดับโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) ถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งไม่เคยปรากฏสงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองของทวีปยุโรป โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)
สงครามโลกครั้งที่1
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918
ประวัติ
ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น
ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ
หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915
ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน
ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม
ผลกระทบ
หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Veraailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis)
มีการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่สอง

เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก
ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"
การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน


ประเทศในฝ่ายพันธมิตรแสดงในสีเขียว และฝ่ายอักษะแสดงในสีส้ม

สมรภูมิทางตะวันออก
สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ
• สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2อย่างเป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง(นานกิง)ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊กมินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ"สงครามกองโจร" ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่งชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึกโกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมาเจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกันกลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรือมิสซูรีที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย
• สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถ้าไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดนที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด

สมรภูมิทางตะวันตก
สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ
• สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ประเทศต่ำ(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)และในสแกนดิเนเวีย ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตีหลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์แล้ว และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ
• สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราดหรือเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำวอลก้า(สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด
• สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้

สมรภูมิรบ
สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่มคือ





การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น. การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป.

สาเหตุของการปฏิวัติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
2. สภาพทางสังคม สมัยนั้นสังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
• ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
o ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d'?p?e) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
o ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์ มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
o ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้ มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
• นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
o นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก พระคาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
o นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่พระสงฆ์ทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
• ฐานันดรที่สาม (tiers ?tat) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น)
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก
การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ (อัตราภาษีศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause imm?diates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น ก็ได้นำไปสู่ความไม่พอใจของคนในชนชั้นต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ก่อนจะลุกลามไปทั่วประเทศ และกลายเป็นการปฏิวัติในที่สุด
ในปี พ.ศ. 2319 ประเทศฝรั่งเศสมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาใช้ในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐฯ และไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้ อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ. 2270 แล้ว
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์, เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331 ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล (ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน. ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน. สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assembl?e des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์
Les ?tats g?n?raux
ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les ?tats g?n?raux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย
สภา les ?tats g?n?raux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า Assembl?e Nationale ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ
สภา Assembl?e Nationale นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les ?tats g?n?raux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสภา Assembl?e Nationale ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม


โรงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบ
ริเตนใหญ่
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด


เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์จุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับนวัตกรรมทางเครื่องกล คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ฯลฯ ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งระบบโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด
ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2293-2393 โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์
และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชียร์ โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2373 เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน
ผู้ใช้วลี “การปฏิวัติอุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเบอร์ลินชื่อหลุยส์ Guillaume เมื่อปี พ.ศ. 2342 แต่ผู้ที่นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ Auguste Blanqui เมื่อปี พ.ศ. 2380 รวมทั้ง ฟรีดริช เองเงิลส์ ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้นกรรมกรในประเทศอังกฤษ” (พ.ศ. 2388) จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลายเป็นการถาวร